บริษัท เอแอลที เทเลคอม จํากัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้รณรงค์การต่อต้านการทุจริต ให้แก่บุคลากรใน องค์กร เนื่องจากคณะกรรมการบริษัท เล็งเห็นความสําคัญของการต่อต้านการทุจริต เพราะในปัจจุบันการทุจริต หรือ คอรัปชั่น (Corruption) มีแนวโน้มมากขึ้นและที่น่ากังวล คือ มุมมองของคนในสังคมในปัจจุบัน มองว่าการ ทุจริตเป็นเรื่องปกติแต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนในสังคมอย่างมาก ตัวอย่างของปัญหาที่มาจากการทุจริตในองค์กร เช่นทําให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นในองค์กร ทําให้เกิดการทํางาน ไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงาน เพราะปฏิบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานนั้นทําให้บริษัทสูญเสีย และ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเกินความเป็นจริง เป็นต้น หรือจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่การทุจริต ดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลเสียในแง่ของการปฏิบัติงานแล้ว ยังส่งผลเสียถึงภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทด้วย สําหรับ ในภาคของประเทศ การทุจริตยังเป็นการทําลายความมั่นคง เสถียรภาพทางธุรกิจ ความเชื่อมันในการลงทุน และ ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
จากที่กล่าวข้างต้น คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริต โดยแต่เดิมเนื้อหา บางส่วนของนโยบายการต่อต้านการทุจริตฉบับนี้ได้บรรจุไว้ในจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัท ตั้งแต่เริ่มแรกที่ บริษัทได้จัดทําจรรยาบรรณทางธุรกิจนโยบายการต่อต้านการทุจริตตามประกาศฉบับนี้มีไว้เพื่อประกาศ เจตนารมณ์ที่บริษัทจะต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ และมุ่งหมายให้ทุกคนในองค์กร ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการ ต่อต้านการทุจริต ภายใต้นโยบายเดียวกันและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทได้รับทราบเจตนารมณ์ของบริษัทที่ มุ่งมั่นต่อต้านการทุจริต
ทั้งนี้มูลเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดการทุจริต คือ การขาดคุณธรรม และจริยธรรม ดังนั้นบริษัทในฐานะที่เป็น องค์กรคุณธรรม จึงมุ่งมันที่จะต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ และถือว่าการต่อต้านการทุจริต เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสำนึก และปลูกฝั่งให้บุคคลากรเป็นคนดีมี
นิยาม
การทุจริต หรือคอรัปชั่น (Corruption) หมายถึง การใช้ตําแหน่งอํานาจหน้าที่ที่ได้มา หรือการใช้ ทรัพย์สินที่มีอยู่ในทางมิชอบ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน คนรู้จัก หรือผลประโยชน์อื่นใดอันมิควรได้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้อื่น เช่นการติดสินบนเจ้าพนักงานด้วยการชักชวน การเสนอ การให้ หรือการรับสินบน การให้คํามั่นสัญญา ทั้งที่เป็นเงิน สิ่งของ สิทธิประโยชน์อื่น การมีประโยชน์ทับซ้อน การปกปิด ข้อเท็จจริง หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งขัดต่อศีลธรรม และจรรยาบรรณที่ดีกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือบุคคลผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือทางอ้อม เพื่อให้หน่วยงานหรือ บุคคลนั้นละเว้นจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ ถูกต้องตามหลักปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้
การช่วยเหลือทางการเมือง หมายถึง การให้เงิน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์อื่นใด หรือสถานที่เพื่ออํานวย ความสะดวก (สถานที่พัก สถานที่รับรอง สถานที่ประชุม สถานที่ชุมนุม) แก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง เพื่อสนับสนุนนโยบาย การกระทําอันมิควร หรือการกระทําใดที่ขัดต่อกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ซึ่งส่งผลเสียต่อชุมชน สังคม ประเทศ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้เกิดความแตกแยกในสังคม ไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม
นโยบายต่อต้านการทุจริต
ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท กระทําการอันใดที่เป็นการเกี่ยวข้องกับการทุจริต คอรัปชั่นทุกรูปแบบ เพื่อประโยชน์ทางตรง หรือทางอ้อมต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก ไม่ว่าตนจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับ ผู้ให้หรือผู้เสนอให้สินบน ทั้งที่เป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงิน แก่หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน ที่บริษัทได้ดําเนินธุรกิจหรือติดต่อด้วย โดยจะปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตอย่างเคร่งครัด
ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และรับผิดชอบ ดังนี้
1. ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบภายในที่กําหนดไว้และเสนอรายงานการ ตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการทุจริต ที่เกิดจากการ ตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน ให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบ
2. ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการตรวจสอบได้มอบหมาย ในเรื่องการตรวจสอบการทุจริต ที่ เกี่ยวข้องกับองค์กร นอกเหนือจากแผนการตรวจสอบภายในที่ได้กาหนดไว้
4. กรรมการผู้อํานวยการ และกรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่และรับผิดชอบ ดังนี้
1. กำหนดนโยบายการต่อต้านทุจริต เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
2. สื่อสารกับบุคลากรในองค์กร และผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้ทราบถึงนโยบายการต่อต้านการทุจริต
3. ทบทวนความเหมาะสมของนโยบายการต่อต้านทุจริตให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจหรือข้อกำหนดของกฎหมาย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
4. คอยช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจสอบ ในการหาสืบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้ง หรืองานที่ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการสอบสวนเรื่องการทุจริต โดยสามารถ มอบหมายงานให้กับทีมผู้บริหารที่เห็นว่าสามารถช่วยสืบหาข้อเท็จจริงได้
กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ลูกจ้างของบริษัท ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต และ จรรยาบรรณทางธุรกิจอยางเคร่งครัด ไม่ว่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตทั้งทางตรง หรือทางอ้อม โดย
1. ไม่ทําพฤติกรรมใด ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการรับสินบน หรือติดสินบน แก่ผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ ตนทําหน้าที่รับผิดชอบทั้งโดยตรง หรือโดยอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ในทางมิชอบ ต้อง ปฏิบัติดังนี้
1. ไม่รับ หรือ ให้ของขวัญ ของที่ระลึก ที่เป็น เงินสด เช็ค พันธบัตร หุ้น ทองคํา อัญมณี อสังหาริมทรัพย์หรือ สิ่งของในทํานองเดียวกัน กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ตนได้เข้าไปติดต่อ ประสานงาน ทั้งในหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชน
2. ไม่รับทรัพย์สิน สิ่งของ ของขวัญ ของกำนัลใดๆ หรือประโยชน์อื่น อันเป็นการชักนําให้ เกิดการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งนี้ก่อนการรับของที่ระลึกควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตาม กฎหมายและข้อบังคับของบริษัท โดยสิ่งของ หรือของขวัญที่ให้แก่กันในหน้าที่การงาน ควรมีราคาไม่มากและเหมาะสมในแต่ละโอกาส
3. ไม่ให้ทรัพย์สิน สิ่งของ ของขวัญ หรือของกำนัลใดๆ หรือประโยชน์อื่น เพื่อจูงใจในการ ตัดสินใจ หรือมีผลทําให้ผู้รับไม่ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติทางการค้าเช่นเดียวกันกับคู่ค้ารายอื่น ทั้งนี้การให้สิ่งของตามโอกาสหรือวาระต่างๆ ต้องมีมูลค่าไม่มากจนเกินปกติวิสัย
4. ไม่เป็นตัวกลางในการเสนอ เงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจหน่วยงานราชการ หรือองค์กรใดๆ เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษที่ไม่ควรได้หรือทําให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐละเว้นการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบข้อบังคับ และข้อปฏิบัติทางกฎหมายตามที่ กำหนดไว้
2. ในการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องดําเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัท มีความโปร่งใส สามารถ ตรวจสอบได้
3. การใช้จ่ายสําหรับการเลี้ยงรับรองทางธุรกิจและการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามสัญญาทางธุรกิจสามารถกระทําได้แต่ต้องใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้
4. ในการบริจาคเพื่อการกุศล ต้องปฏิบัติดังนี้
1. การใช้เงิน หรือ ทรัพย์สินของบริษัท เพื่อบริจาคการกุศล ต้องกระทําในนามบริษัทเท่านั้นโดย การบริจาคเพื่อการกุศล ต้องเป็น มูลนิธิองค์กรสาธารณะกุศล วัด โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือองค์กรเพื่อประโยชน์ต่อสังคม ที่มีใบรับรอง หรือเชื่อถือได้สามารถตรวจสอบได้และ ดําเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัท
2. การบริจาคเพื่อการกุศล ในนามส่วนตัวพึงกระทําได้แต่ต้องไม่เกี่ยวข้อง หรือทําให้เกิดข้อ สงสัยได้ว่าเป็นการกระทําที่ทุจริต เพื่อหวังผลประโยชน์ใด
5. ในการให้เงินสนับสนุน ต้องปฏิบัติดังนี้
1. การใช้เงิน หรือ ทรัพย์สินของบริษัท เพื่อสนับสนุนโครงการ ต้องระบุชื่อในนามบริษัทเท่านั้น โดยเงินสนับสนุนที่จ่ายไป ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจภาพลักษณ์ที่ดีและชื่อเสียงของ บริษัท ทั้งนี้การเบิกจ่ายต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้และ ดําเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัท
6. ไม่กระทําการอันใดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองภายในบริษัท และไม่ใช้ทรัพยากรใดของบริษัท เพื่อดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้บริษัทเป็นองค์กรที่ยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง สนับสนุนการ ปฏิบัติตามกฎหมาย และการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงไม่มีแนวทางในการให้การ ช่วยเหลือทางการเมืองแก่พรรคการเมืองใด ไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางอ้อม
7. หากพบเห็นการกระทําที่เข้าข่ายการทุจริต หรือส่อไปในทางทุจริต ที่มีผลเกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้ง ทางตรง หรือทางอ้อม ต้องไม่ละเลย หรือเพิกเฉยต่อพฤติกรรมดังกล่าว ควรแจ้งให้กรรมการ ผู้อํานวยการ หรือกรรมการผู้จัดการ ทราบทันทีหรือแจ้งผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแส ตามที่ได้ กำหนดไว้ในนโยบายนี้
8. กรรมการและผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสําคัญในการเผยแพร่ให้ความรู้ให้คําปรึกษา เพื่อสร้าง ความเข้าใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต เพื่อให้พนักงานได้ปฏิบัติให้เป็นไป ตามนโยบายการต่อต้านทุจริตฉบับนี้รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการมีความซื่อสัตย์ จริยธรรม และจรรยาบรรณ
เรื่องที่รับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนการทุจริต
คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียนการกระทําที่อาจทําให้เกิดความสงสัยได้ว่าเป็นการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นกับบริษัท โดยทางตรง หรือ ทางอ้อม โดยผ่านช่องทางการรับเรื่องที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้
โดยผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน พร้อมชื่อ ที่อยู่และ หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้และส่งมายังช่องทางรับเรื่อง ดังนี้
ทั้งนี้หากผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน มีข้อร้องเรียน ผ่านทางเว็บเพจ ขอให้ท่านส่งเรื่องร้องเรียนมายังคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง
บุคคลที่สามารถแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต คือ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท ได้แก่ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ภาครัฐบาล ชุมชน สังคม ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าท่านจะแจ้งด้วยวิธีใดดังกล่าวข้างต้น ทางบริษัทจะรักษาความลับของท่าน
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลที่กระทําโดยเจตนาสุจริต บริษัทจะปกปิดชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลใดๆ ที่สามารถระบุตัวผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูลได้และเก็บรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ โดยจํากัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน เท่านั้นที่สามารถ เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
ในกรณีที่มีการร้องเรียน กรรมการผู้อํานวยการ หรือกรรมการผู้จัดการ คณะกรรมการตรวจสอบ จะทํา หน้าที่ในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน พยาน และบุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ไม่ให้ ได้รับความเดือนร้อน อันตรายใด หรือความไม่ชอบธรรม อันเกิดมาจากการแจ้งเบาะแส ร้องเรียน การเป็นพยาน หรือการให้ข้อมูล โดยขอให้ผู้ร้องเรียนส่งเรื่องร้องเรียนมายังคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง
ทั้งนี้กรรมการผู้อํานวยการ กรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่ในการใช้ดุลยพินิจสั่งการตามที่เห็นสมควร เพื่อ คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน พยาน และบุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ไม่ให้ได้รับความ เดือนร้อน อันตรายใด หรือความไม่ชอบธรรม อันเกิดมาจากการแจ้งเบาะแส ร้องเรียน การเป็นพยาน หรือการให้ ข้อมูล
กรรมการผู้อํานวยการ กรรมการผู้จัดการ สามารถมอบหมายงานให้กับผู้บริหารคนใด คนหนึ่ง ทําหน้าที่ แทนในการใช้ดุลยพินิจสั่งการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน พยาน และบุคคลที่ให้ ข้อมูล ได้โดยผู้บริหารที่ได้รับมอบหมาย ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้รับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียน ทั้งโดย ทางตรง หรือทางอ้อม (เช่นผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของตนโดยตรง)
ทั้งนี้ผู้ได้รับข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ข้อร้องเรียน และเอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีที่มีการร้องเรียน กรรมการผู้อํานวยการ หรือกรรมการผู้จัดการ คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ ในการรับเรื่อง หาข้อมูล และตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามที่ได้รับแจ้ง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท ให้ร่วมกัน พิจารณา และกำหนดโทษตามที่เห็นสมควร
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบนโยบายการต่อต้านการทุจริต บริษัทจะดําเนินการดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 16 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |