มิติการกำกับดูแลกิจการ

         นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน

บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม (“เอแอลที”) เชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนจะช่วยให้บริษัทมีความมั่นคงและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว อันจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่แห่งคุณค่า แบบองค์รวม ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ และเป้าหมายตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่บริษัทได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ ผู้บริหารและพนักงานบริษัททุกคน มีหน้าที่สนับสนุน ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร ตามนโยบายที่กำหนดไว้ รวมทั้งถ่ายทอดนโยบาย ไปยังบริษัทในกลุ่มกิจการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ตลอดจนสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์การดำเนินงาน

  • เดินหน้าการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายสื่อสารเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ของกลุ่มกิจการ และส่งเสริมให้เกิดการเช่าใช้ร่วมกันของกลุ่มผู้ประกอบการ และเชื่อมโยงโครงข่ายภายในประเทศเข้ากับโครงข่ายภาคพื้นน้ำระหว่างประเทศ (Network Infrastructure)
  • พัฒนาธุรกิจสู่เมืองอัฉริยะ (Smart City) โดยนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีอันชาญฉลาดมาทำงานร่วมกับระบบสื่อสาร ซึ่งสามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเพื่อสังเกตการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่และสุขอนามัยของประชาชน ทั้งในเรื่องมลพิษ และฝุ่นละออง การจราจร รวมถึงเป็นจุดชาร์จไฟสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า นำไปสู่การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม
  • มุ่งพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานทดแทนอย่างครบวงจร (Smart Energy) และมีแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม หรือภาคครัวเรือน หันมาใช้พลังงานทางเลือก (Renewable Energy) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากฟอสซิล เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อน และ เร่งเดินหน้าพัฒนามิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะและมิเตอร์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ
  • พัฒนาธุรกิจด้านแพลตฟอร์ม (Smart e Platform) พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเป็นบริการเสริมการใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบเมืองอัจฉริยะ ระบบพลังงานอัจฉริยะ และธุรกิจประกันภัย เช่น พัฒนาซอฟท์แวร์เพื่ออ่านป้ายทะเบียนรถยนต์ สำหรับการเก็บค่าบริการผ่านทางและจอดรถ เพื่อช่วยส่งเสริมให้การขนส่งและเดินทางมีความคล่องตัวมาก

เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน บริษัทได้กำหนดเป้าหมาย เพื่อทำให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความไม่แน่นอนและความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ของโลกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่

1. มุ่งสร้างผลประกอบการและผลตอบแทนที่ดี

จากสภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทยังคงต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบริษัทยังคงเดินหน้าทำตามแผนธุรกิจและเป้าหมายที่วางไว้ โดยยังคงมุ่งเน้นไปยังกิจการด้านพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้บริโภคผ่านอี-แพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งเป็นบริการที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัว ยกระดับการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ช่วยลดต้นทุน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการที่มีธรรมาภิบาล

2. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

บริษัทเดินหน้าการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายสื่อสารเคเบิลใยแก้วนำแสงที่กลุ่มกิจการมีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการเช่าใช้ร่วมกันของกลุ่มผู้ประกอบการ และเชื่อมโยงโครงข่ายภายในประเทศเข้ากับโครงข่ายภาคพื้นน้ำระหว่างประเทศเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลาง ASEAN Digital Hub

3. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บริษัทมุ่งพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานทดแทน และมีแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม หรือภาคครัวเรือน ภาครัฐและภาคเอกชน หันมาใช้พลังงานทางเลือก (Renewable Energy) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สร้างมลพิษ เปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

4. ตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

เป็นการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีอันชาญฉลาดมาทำงานร่วมกับระบบสื่อสาร รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเป็นบริการเสริมการใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบเมืองอัจฉริยะ ระบบพลังงานอัจฉริยะ และธุรกิจประกันภัย สู่การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม

5. เสริมสร้างความผูกพันของพนักงาน และ สร้างความตระหนักรู้ในจรรยาบรรณธุรกิจของกิจการ

บุคลากรคือทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กร ความสำเร็จทั้งปวงจะเกิดขึ้นได้ก็จากความความรู้ ความสามารถ และความมุ่งมั่นทุ่มเทของบุคลากร ฉะนั้นการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการสร้างความผูกพันองค์กรและการสร้างความตระหนักรู้ในจรรยาบรรณของธุรกิจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ บริษัทจึงมีกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยรักษาความสมดุลในการทำงานอย่างมีความสุข (Work-life balance) มุ่งสร้างสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน รวมถึงดูแลด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจและสุขภาพทางการเงิน และมุ่งพัฒนาศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่อง

6. มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่

บริษัทคำนึงถึงความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าทั้งกลุ่มเดิมและลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยดูแลลูกค้าทั้งในระหว่างการเสนอโครงการ การให้บริการติดตั้งอย่างมืออาชีพ รวมถึงการบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

7. ปรับปรุงระบบควบคุมภายใน ให้ทันสมัยและลดความซ้ำซ้อน

เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการและระบบการควบคุมภายในให้ทันสมัย และลดความซ้ำซ้อนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว และเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด

การจัดการความยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ และธรรมาภิบาล

1. มุ่งสร้างผลประกอบการและผลตอบแทนที่ดี

บริษัท ให้ความสำคัญต่อความคาดหวังของนักลงทุนและผู้ถือหุ้นเป็นอย่างยิ่ง และคำนึงถึงจากสภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทยังคงต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบริษัทยังคงเดินหน้าทำตามแผนธุรกิจและเป้าหมายที่วางไว้ โดยยังคงมุ่งเน้นไปยังกิจการด้านพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้บริโภคผ่านอี-แพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งเป็นบริการที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัว ยกระดับการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ช่วยลดต้นทุน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

2. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

บริษัทเดินหน้าการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายสื่อสารเคเบิลใยแก้วนำแสงที่กลุ่มกิจการมีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเช่าใช้ร่วมกันของกลุ่มผู้ประกอบการ และเชื่อมโยงโครงข่ายภายในประเทศเข้ากับโครงข่ายภาคพื้นน้ำระหว่างประเทศเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลาง ASEAN Digital Hub

3. ลดประเด็นข้อบกพร่องระบบความคุมภายใน

บริษัทมีการปรับปรุงระบบควบคุมภายในเพื่อลดความซ้ำซ้อน และทำให้เกิดความคล่องตัว และเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดในการ

เป้าหมายและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มิติเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล ดังนี้

มิติ

กลยุทธ์

เป้าหมาย 3-5 ปี

ผลการดำเนินงานปี 2566

ด้านเศรษฐกิจ
และธรรมาภิบาล

มุ่งสร้างผลประกอบการและผลตอบแทนที่ดี

กำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

กำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 109

ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

รายได้ประจำ (Recurring Income) มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้รวม

รายได้ประจำ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 26 ของรายได้รวม

มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่

เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

ผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 92.64

ลดประเด็นข้อบกพร่องระบบความคุมภายใน

ปรับปรุงระบบควบคุมภายใน ให้ทันสมัยและลดความซ้ำซ้อน ร้อยละ 100 

จากการปรับปรุงกระบวนการให้มีความทันสมัยและลดกระบวนการซ้ำซ้อน ได้ร้อยละ 50%

ส่งเสริมให้พนักงานตระหนักรู้ในจรรยาบรรณธุรกิจของกิจการ

พนักงานมีความรู้ความเข้าใจด้านจรรยาบรรณธุรกิจที่ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

จากผลการประเมินการความเข้าใจจรรยาบรรณธุรกิจของพนักงานในปี 2566 อยู่ในอัตราร้อยละ 91

  • บริษัทมุ่งมั่นพัฒนาให้ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน  ควบคู่การดูแลเอาใจใส่ชุมชน  และให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความตั้งใจ โดยกำหนดแนวนโยบายในเรื่องของการดำเนินงานรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้
  • จัดทำโครงการพัฒนาชุมชนหรือสังคมรอบๆ บริษัท / สังคมใกล้บริษัท / สังคมห่างไกลบริษัท อย่างน้อย  1 ครั้งต่อปี
  • ในกรณีที่ชุมชนหรือสังคมรอบๆ หรือใกล้เคียงบริษัท ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท ทางบริษัทจะเร่งรีบดำเนินการทันทีที่ได้รับทราบข้อมูลนั้นๆ
  • จัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสื่อสารและคมนาคมแก่เยาวชนที่ยังอยู่ในภาคการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบัน พื้นที่ใกล้เคียง เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขต พระนครเหนือ และวิทยาเขตธนบุรี  ปีละ 1-2 ครั้ง และการให้ยืมเครื่องมือทดสอบสัญญานเพื่อการสื่อสารไร้สาย แก่สถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรอาชีพด้านนี้
  • บริษัทจะส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น โดยการสนับสนุนให้ผู้รับเหมาช่วงจากบริษัทมีการจ้างผู้รับเหมารายย่อยหรือแรงงานที่เป็นคนในพื้นที่ที่บริษัทไปดำเนินโครงการทางธุรกิจอยู่ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ และเปิดโอกาสให้บุคคลากรในท้องถิ่นได้รับการถ่ายทอดวิธีการทำงานที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่อไป

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา

บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน)

1. ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี
– ผู้สอบบัญชีของบริษัท (นางสาวนันทิกา ลิ้มวิริยะเลิศ, นายไพบูล ตันกูล หรือนางสาวธิตินันท์ แว่นแก้ว) ในรอบปีที่ผ่านมา
– ไม่มี –
– สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด (บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด) รวมถึงบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชี และสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัดจำนวนเงิน 1,675,000 บาท

บริษัทย่อย

1. ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี
    – ผู้สอบบัญชีของบริษัท (นางสาวนันทิกา ลิ้มวิริยะเลิศ, นายไพบูล ตันกูล หรือนางสาวธิตินันท์ แว่นแก้ว) ในรอบปีที่ผ่านมา
– ไม่มี –
– สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด (บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด) รวมถึงบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัดจำนวนเงิน 3,090,000 บาท
2. ค่าบริการอื่น
– ไม่มี –