นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน
บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม (“เอแอลที”) เชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนจะช่วยให้บริษัทมีความมั่นคงและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว อันจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่แห่งคุณค่า แบบองค์รวม ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ และเป้าหมายตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่บริษัทได้กำหนดไว้
ทั้งนี้ ผู้บริหารและพนักงานบริษัททุกคน มีหน้าที่สนับสนุน ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร ตามนโยบายที่กำหนดไว้ รวมทั้งถ่ายทอดนโยบาย ไปยังบริษัทในกลุ่มกิจการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ตลอดจนสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์การดำเนินงาน
เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน บริษัทได้กำหนดเป้าหมาย เพื่อทำให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความไม่แน่นอนและความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ของโลกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่
1. มุ่งสร้างผลประกอบการและผลตอบแทนที่ดี
จากสภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทยังคงต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบริษัทยังคงเดินหน้าทำตามแผนธุรกิจและเป้าหมายที่วางไว้ โดยยังคงมุ่งเน้นไปยังกิจการด้านพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้บริโภคผ่านอี-แพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งเป็นบริการที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัว ยกระดับการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ช่วยลดต้นทุน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการที่มีธรรมาภิบาล
2. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
บริษัทเดินหน้าการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายสื่อสารเคเบิลใยแก้วนำแสงที่กลุ่มกิจการมีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการเช่าใช้ร่วมกันของกลุ่มผู้ประกอบการ และเชื่อมโยงโครงข่ายภายในประเทศเข้ากับโครงข่ายภาคพื้นน้ำระหว่างประเทศเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลาง ASEAN Digital Hub
3. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัทมุ่งพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานทดแทน และมีแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม หรือภาคครัวเรือน ภาครัฐและภาคเอกชน หันมาใช้พลังงานทางเลือก (Renewable Energy) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สร้างมลพิษ เปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
4. ตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรมดิจิทัล
เป็นการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีอันชาญฉลาดมาทำงานร่วมกับระบบสื่อสาร รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเป็นบริการเสริมการใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบเมืองอัจฉริยะ ระบบพลังงานอัจฉริยะ และธุรกิจประกันภัย สู่การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม
5. เสริมสร้างความผูกพันของพนักงาน และ สร้างความตระหนักรู้ในจรรยาบรรณธุรกิจของกิจการ
บุคลากรคือทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กร ความสำเร็จทั้งปวงจะเกิดขึ้นได้ก็จากความความรู้ ความสามารถ และความมุ่งมั่นทุ่มเทของบุคลากร ฉะนั้นการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการสร้างความผูกพันองค์กรและการสร้างความตระหนักรู้ในจรรยาบรรณของธุรกิจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ บริษัทจึงมีกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยรักษาความสมดุลในการทำงานอย่างมีความสุข (Work-life balance) มุ่งสร้างสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน รวมถึงดูแลด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจและสุขภาพทางการเงิน และมุ่งพัฒนาศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่อง
6. มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่
บริษัทคำนึงถึงความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าทั้งกลุ่มเดิมและลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยดูแลลูกค้าทั้งในระหว่างการเสนอโครงการ การให้บริการติดตั้งอย่างมืออาชีพ รวมถึงการบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
7. ปรับปรุงระบบควบคุมภายใน ให้ทันสมัยและลดความซ้ำซ้อน
เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการและระบบการควบคุมภายในให้ทันสมัย และลดความซ้ำซ้อนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว และเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด
การจัดการความยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ และธรรมาภิบาล
1. มุ่งสร้างผลประกอบการและผลตอบแทนที่ดี
บริษัท ให้ความสำคัญต่อความคาดหวังของนักลงทุนและผู้ถือหุ้นเป็นอย่างยิ่ง และคำนึงถึงจากสภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทยังคงต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบริษัทยังคงเดินหน้าทำตามแผนธุรกิจและเป้าหมายที่วางไว้ โดยยังคงมุ่งเน้นไปยังกิจการด้านพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้บริโภคผ่านอี-แพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งเป็นบริการที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัว ยกระดับการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ช่วยลดต้นทุน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
2. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
บริษัทเดินหน้าการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายสื่อสารเคเบิลใยแก้วนำแสงที่กลุ่มกิจการมีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเช่าใช้ร่วมกันของกลุ่มผู้ประกอบการ และเชื่อมโยงโครงข่ายภายในประเทศเข้ากับโครงข่ายภาคพื้นน้ำระหว่างประเทศเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลาง ASEAN Digital Hub
3. ลดประเด็นข้อบกพร่องระบบความคุมภายใน
บริษัทมีการปรับปรุงระบบควบคุมภายในเพื่อลดความซ้ำซ้อน และทำให้เกิดความคล่องตัว และเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดในการ
เป้าหมายและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มิติเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล ดังนี้
มิติ |
กลยุทธ์ |
เป้าหมาย 3-5 ปี |
ผลการดำเนินงานปี 2566 |
ด้านเศรษฐกิจ |
มุ่งสร้างผลประกอบการและผลตอบแทนที่ดี |
กำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า |
กำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 109 |
ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด |
รายได้ประจำ (Recurring Income) มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้รวม |
รายได้ประจำ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 26 ของรายได้รวม |
|
มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ |
เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 |
ผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 92.64 |
|
ลดประเด็นข้อบกพร่องระบบความคุมภายใน |
ปรับปรุงระบบควบคุมภายใน ให้ทันสมัยและลดความซ้ำซ้อน ร้อยละ 100 |
จากการปรับปรุงกระบวนการให้มีความทันสมัยและลดกระบวนการซ้ำซ้อน ได้ร้อยละ 50% |
|
ส่งเสริมให้พนักงานตระหนักรู้ในจรรยาบรรณธุรกิจของกิจการ |
พนักงานมีความรู้ความเข้าใจด้านจรรยาบรรณธุรกิจที่ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 |
จากผลการประเมินการความเข้าใจจรรยาบรรณธุรกิจของพนักงานในปี 2566 อยู่ในอัตราร้อยละ 91 |
ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา
บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน)
1. ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี
– ผู้สอบบัญชีของบริษัท (นางสาวนันทิกา ลิ้มวิริยะเลิศ, นายไพบูล ตันกูล หรือนางสาวธิตินันท์ แว่นแก้ว) ในรอบปีที่ผ่านมา
– ไม่มี –
– สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด (บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด) รวมถึงบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชี และสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัดจำนวนเงิน 1,675,000 บาท
บริษัทย่อย
1. ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี
– ผู้สอบบัญชีของบริษัท (นางสาวนันทิกา ลิ้มวิริยะเลิศ, นายไพบูล ตันกูล หรือนางสาวธิตินันท์ แว่นแก้ว) ในรอบปีที่ผ่านมา
– ไม่มี –
– สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด (บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด) รวมถึงบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัดจำนวนเงิน 3,090,000 บาท
2. ค่าบริการอื่น
– ไม่มี –
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |