การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

         การทุจริต (Corruption) หมายถึง การใช้อำนาจที่ได้มาหรือการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในทางมิชอบ  เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้อื่น  การทุจริตอาจเกิดได้หลายลักษณะอาทิ การติดสินบนเจ้าพนักงานด้วยการชักชวนการเสนอการให้หรือการรับสินบน  ทั้งที่เป็นเงินและสิ่งของ  การมีผลประโยชน์ทับซ้อน  การฉ้อฉล  การฟอกเงิน  การยักยอกการปกปิดข้อเท็จจริง  การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม  การค้าภายใต้แรงอิทธิพล ทั้งนี้ การทุจริตดังกล่าวมิได้หมายความถึงเพียงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐเท่านั้น  แต่ยังครอบคลุมถึงธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกิจการในระหว่างภาคเอกชนด้วยกันเองด้วย

แนวทางในการปฏิบัติ

  • บริหารความเสี่ยงกิจการ  โดยระบุความเสี่ยงและสาเหตุการทุจริต  แล้วดำเนินการปฏิบัติเพื่อป้องกันอย่างเข้มข้น  ตลอดจน รักษาและปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตโดยต่อเนื่อง
  • สร้างความเชื่อมั่น  ด้วยการแสดงภาวะผู้นำของกิจการในการเป็นแบบอย่างของการต่อต้านการทุจริต  อีกทั้งมุ่งมั่นสนับสนุนและกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตด้วย
  • ส่งเสริมอบรม  ตลอดจนให้รางวัลจูงใจพนักงานและตัวแทนของกิจการ ในการขจัดการติดสินบนด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • เสริมสร้างให้พนักงาน  ตัวแทน  คู่สัญญารับจ้าง  และคู่ค้า  ตระหนักถึงการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นและการต่อต้านการทุจริต
  • สร้างหลักประกันว่า ค่าตอบแทนที่ให้กับพนักงานและตัวแทนเพียงพอ  และเป็นไปเพื่อบริการที่ชอบธรรมเท่านั้น
  • สร้างและรักษาระบบต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิผล  นอกเหนือไปจากวิธีการบริหารความเสี่ยงของกิจการ
  • สนับสนุนให้พนักงาน  หุ้นส่วน  ตัวแทน  และคู่ค้า  รายงานการละเมิดนโยบายของกิจการและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือไร้จริยธรรม
  • นำเสนอเรื่องการละเมิดกฎหมายอาญาให้ผู้มีอำนาจที่เหมาะสมได้รับทราบ
  • ไม่สนับสนุนการคอร์รัปชั่น  หรือต่อต้านการทุจริตทั้งภาครัฐหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท

การดำเนินการ

          บริษัทมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และได้กําหนดนโยบายส่งเสริมพฤติบัญญัติบริษัท (Encouraging Code of Conduct ALT)ดังนี้

  • การกําหนดนโยบายเกี่ยวกับต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นไว้ใน “จรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct)” และกำหนดจะเข้าร่วมการประกาศเจตนารมย์กับแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) ภายในปี 2558
  • ประกาศใช้ “จรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct)” ที่ให้ความสำคัญต่อการปลอดการทุจริต (Zero Fraud) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหารและพนักงานที่นำไปสู่ความสำเร็จและความสุขอันยั่งยืน โดยมีการกำหนดภายใต้หัวข้อเรื่อง “การให้สินบนหรือส่วนลด “ “การให้-รับของขวัญและสิ่งตอบแทน” และ “การป้องกันการทุจริตและการให้สินบน” โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
  • จัดทำหนังสือประกาศแนวทางการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของบริษัทเพื่อแจ้งต่อลูกค้าและคู่ค้า
  • กำหนดแผนการอบรมและพัฒนาพนักงานเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมจริยธรรม  เพื่อชี้ให้เห็นวัฒนธรรมที่สมาชิกของบริษัทมหาชนต้องตระหนักและยึดถือปฏิบัติ  และเพื่อเป็นการส่งเสริม พัฒนาด้านจิตใจให้มีความเป็นธรรม  ทั้งยังสามารถทำให้เกิดจิตสำนึกที่ดีอันส่งผลต่อการเกิดความซื่อสัตย์สุจริตตามมา
  • จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของกิจการและจัดการระบบการควบคุมภายใน  ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการประพฤติมิชอบต่างๆ
  • กําหนดกลไกการรายงานสถานะทางการเงินที่ถูกต้องและโปร่งใส
  • จัดให้มีช่องทางการสื่อสารสำหรับแจ้งเบาะแส  มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้ง  ตลอดจนมีกระบวนการตรวจสอบทุกเบาะแสที่ได้รับแจ้งอย่างเป็นธรรม

สถิติการลาออก

สถิติการเกิดอุบัติเหตุขั้นหยุดงาน