Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

            บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้ก่อตั้งในปี 2544 จวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมระยะเวลาที่ดำเนินงานมากว่า 14 ปีนั้น บริษัทได้มีการพัฒนาองค์กรและบุคลากรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า สภาวะตลาด และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรของบริษัทให้มีความแข็งแกร่งและมีประสบการณ์เชี่ยวชาญในธุรกิจสื่อสาร เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ   โดยปัจจุบัน บริษัทประกอบธุรกิจโทรคมนาคมแบบครบวงจร แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจให้บริการสร้างสถานีฐาน ติดตั้ง และซ่อมแซมอุปกรณ์โทรคมนาคม 2.ธุรกิจจำหน่ายสินค้าในกลุ่มโทรคมนาคม ได้แก่ สายเคเบิลใยแก้วนำแสง, ตู้โทรคมนาคม, สถานีโทรคมนาคมเคลื่อนที่, สายอากาศ และอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่น ๆ 3.ธุรกิจให้เช่าโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม

                      ชื่อบริษัท : บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน)
                      ที่อยู่ : 52/1 หมู่ 5 ถ.บางกรวยไทรน้อย
                               Bangsithong, Bangkruay, Nonthaburi
                               11130 Thailand
                      โทร : 02-863-8999
                      โทรสาร : 02-886-3364, 02-886-3084 
                      Web Address : http://alt.co.th
                      Email-Address info@alt.co.th
                      ทุนลงทะเบียน : 500,000,000 บาท
                      ทุนชำระแล้ว : 500,000,000 บาท

Accordion Content

Accordion Content

  • Telecommunication Infrastructure Sharing

  • Focus in digital telecommunication infrastructure business with all customers equally and will not do any business that compete with clients.

  • One stop solution service

Accordion Content

Accordion Content

                                                                                                                   Articles of Association

                                                                                                                     Of

                                                                             ALT Telecom Public Company Limited

 

                                                                                                                หมวดที่  1  GENERAL PROVISIONS

     ข้อ 1. ข้อบังคับนี้เรียกว่า  ข้อบังคับของบริษัท  เอแอลที  เทเลคอม จำกัด (มหาชน)
     ข้อ 2. คำว่า  “บริษัท”  ในข้อนี้   หมายถึง  บริษัท  เอแอลที   เทเลคอม  จำกัด (มหาชน)
     ข้อ 3. ข้อความอื่นที่มิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้  ให้ถือและบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดทุกประการ

                                                                                            หมวดที่  2  ISSUE AND TRANSFER OF SHARES

     ARTICLE 4: หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญมีมูลค่าหุ้นละ  0.50  บาท  และเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือหุ้น  หุ้นทุกหุ้นของบริษัทต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวจนเต็มมูลค่า  ผู้จองหุ้นหรือผู้ซื้อหุ้นจะขอหักกลบลบหนี้กับบริษัทไม่ได้
               หุ้นของบริษัทจะแบ่งแยกมิได้  ถ้าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้นหรือจองซื้อร่วมกันต้องตั้งให้คนใดคนหนึ่งในบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้จองหุ้นแล้วแต่กรณี
               บริษัทอาจออกหุ้นกู้  หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ  หรือหุ้นบุริมสิทธิ  รวมทั้งหลักทรัพย์อื่นใดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสนอเพื่อขายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุคคลใดๆ หรือประชาชนทั่วไปได้  และการแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญให้ดำเนินการภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมาย
     ข้อ 5. บริษัทจะออกใบหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นภายใน  2  เดือน  นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัทหรือวันที่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนในกรณีจำหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ภายหลังจดทะเบียนบริษัท
               ใบหุ้นของบริษัททุกใบจะต้องมีกรรมการลงหรือพิมพ์ลายมือชื่อไว้อย่างน้อยหนึ่งคน  อย่างไร       ก็ตาม  กรรมการอาจมอบหมายให้นายทะเบียนหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ลงหรือพิมพ์ลายมือชื่อแทนก็ได้    ซึ่งการลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ดังกล่าวนั้นให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนหุ้นกำหนด
     ARTICLE 6: หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด  เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ในบริษัทมีจำนวนมากกว่าร้อยละ  49  ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด  การโอนหุ้นรายใดที่จะทำให้อัตราส่วนการถือหุ้นของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยของบริษัทเกินอัตราส่วนข้างต้น  บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการโอนหุ้นของบริษัทรายนั้นได้
     ข้อ 7. ภายใต้บังคับของข้อ 6. ของข้อบังคับฉบับนี้  การโอนหุ้นย่อมสมบูรณ์เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้น  โดยระบุชื่อผู้รับโอนและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน  และส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้รับโอน
               การโอนหุ้นใช้ยันบริษัทได้เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียนโอนหุ้นแล้ว และใช้ยันบุคคล ภายนอกได้เมื่อบริษัทได้ลงทะเบียนการโอนหุ้นแล้ว
               บริษัทเมื่อได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียนโอนหุ้นแล้ว  หากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นถูกต้องตามกฎหมาย  ให้บริษัทลงทะเบียนโอนหุ้นภายใน   14  วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอหรือหากเห็นว่าการโอนหุ้น       ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้แจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องภายใน  7  วัน
               เมื่อหุ้นของบริษัทได้รับการจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย    การโอนหุ้นนั้นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
     ARTICLE 8: ใบหุ้นฉบับใดลบเลือน  หรือ  ชำรุดในสาระสำคัญ  ผู้ถือหุ้นอาจขอให้บริษัทออกใบหุ้นใหม่ให้แก่        ผู้ถือหุ้นโดยเวนคืนใบหุ้นเดิม  ในกรณีนี้ให้บริษัทออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นใหม่ภายใน  14  วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ  ในกรณีที่ใบหุ้นสูญหาย หรือ ถูกทำลาย  ผู้ถือหุ้นจะต้องนำหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนมาแสดงแก่บริษัท  ให้บริษัทออกใบหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นภายใน  14  วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและผู้ถือหุ้นได้แสดงหลักฐานดังกล่าวข้างต้นต่อบริษัท
                ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นตายหรือล้มละลาย  บุคคลผู้มีสิทธิจะได้หุ้นนั้นหากนำใบหุ้นมาเวนคืนพร้อมกับหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมายมาแสดงแก่บริษัทครบถ้วนแล้ว  บริษัทจึงจะลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นและออกใบหุ้นใหม่ภายใน  1  เดือนนับแต่วันได้หลักฐานดังกล่าว
                บริษัทอาจเรียกค่าธรรมเนียมในการออกใบหุ้นใหม่แทนใบหุ้นที่สูญหาย  ลบเลือนหรือชำรุด หรือในการที่ผู้ถือหุ้นขอสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนพร้อมคำรับรองของบริษัทได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
     ARTICLE 9:  บริษัทจะถือหุ้นหรือรับจำนำหุ้นของตนเองมิได้    เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
                (1)  บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น  ซึ่งแก้ไขข้อบังคับของบริษัทเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน  และสิทธิในการรับเงินปันผล    ซึ่งผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม
                (2)  บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน  เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกินและการซื้อหุ้นคืนนั้นไม่เป็นเหตุให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน
                หุ้นที่บริษัทถืออยู่นั้นจะไม่นับเป็นองค์ประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้น  รวมทั้งไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและสิทธิในการรับเงินปันผล
                หุ้นที่ซื้อคืนตามวรรคหนึ่ง  บริษัทจะต้องจำหน่ายออกไปภายในเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง   ถ้าไม่จำหน่ายหรือจำหน่ายไม่หมดภายในเวลาที่กำหนด  ให้บริษัทลดทุนที่ชำระแล้ว  โดยวิธีตัดหุ้นจดทะเบียนส่วนที่จำหน่ายไม่ได้
                การซื้อหุ้นคืนวรรคหนึ่ง   การจำหน่ายหุ้นและการตัดหุ้นตามวรรคสาม  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
                การซื้อหุ้นของบริษัทคืนดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น   ยกเว้นการซื้อหุ้นดังกล่าวไม่เกินกว่าร้อยละสิบของทุนชำระแล้ว  ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริษัทในการอนุมัติการซื้อหุ้นดังกล่าวได้
                ในกรณีที่หุ้นที่บริษัทซื้อคืนมีจำนวนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนชำระแล้ว   ให้บริษัททำการซื้อหุ้นคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
                การกำหนดราคาเสนอซื้อหุ้นของบริษัทคืน  และราคาเสนอขายหุ้นที่ซื้อคืน หรือกรณีอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นดังกล่าว   และในกรณีที่หลักทรัพย์ของบริษัทได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ให้เป็นไปตามข้อบังคับ  ประกาศ  คำสั่ง  หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
     ARTICLE 10: บริษัทอาจปิดงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้นระหว่าง  21  วัน  ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้งก็ได้  โดยประกาศให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า  ณ  สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัททุกแห่งไม่น้อยกว่า  14  วันก่อนวันปิดงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้น

 

                                                                                                  หมวดที่  3    BOARD OF DIRECTORS

     ARTICLE 11: คณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 5  คน  และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดนั้นต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร  และกรรมการของบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด
                 ห้ามมิให้กรรมการประกอบกิจการ เข้าเป็นหุ้นส่วน  หรือเข้าเป็นกรรมการในนิติบุคคลอื่นที่มีสภาพอย่างเดียวกันและดำเนินธุรกิจอันเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท  เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง
                 ในการดำเนินกิจการของบริษัท กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย  วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท  ตลอดจนมติประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท
                 ให้กรรมการแจ้งให้บริษัททราบโดยมิชักช้าในกรณีที่กรรมการมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในสัญญาใด ๆ ที่บริษัททำขึ้นระหว่างรอบปีบัญชี  หรือถือหุ้นหรือหุ้นกู้ในบริษัทและบริษัทในเครือ  โดยระบุจำนวนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างรอบปีบัญชี
     ARTICLE 12: ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการโดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์และวิธีการ  ดังต่อไปนี้
                (1)  ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อเสียงหนึ่ง
                (2)  ให้ผู้ถือหุ้นออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคลไป
                (3)  บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น  ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้นให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด
     ข้อ 13. ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง  ให้กรรมการออกจากตำแหน่งจำนวน  1  ใน  3  ของจำนวนกรรมการในขณะนั้น  ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน  1  ใน  3   
                 กรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนเป็นบริษัทนั้นให้ใช้วิธีจับสลากกันว่าผู้ใดจะออก  ส่วนปีหลัง ๆ ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่งกรรมการที่ออกตามวาระนั้นอาจถูกเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้
     ข้อ 14. กรรมการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทในรูปของเงินรางวัล  เบี้ยประชุม  บำเหน็จ  โบนัส  หรือผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะอื่น  ตามข้อบังคับหรือตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะอนุมัติ  ซึ่งอาจกำหนดเป็นจำนวนแน่นอนหรือวางเป็นหลักเกณฑ์  และจะกำหนดไว้เป็นคราว ๆ ไป  หรือจะให้มีผลตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้  และนอกจากนั้นให้ได้รับเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการต่างๆ ตามระเบียบของบริษัท
                ความในวรรคหนึ่งไม่กระทบกระเทือนสิทธิของพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท  ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการในอันที่จะได้รับค่าตอบแทนและผลประโยชน์ในฐานะที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท
     ข้อ 15. นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว  กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
                 (1) death;
                 (2) resignation;
                 (3) ขาดคุณสมบัติ  หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
                 (4) removal by a resolution of the shareholders meeting; or
                 (5) removal by the court's order.
     ข้อ 16. กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่งให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท  การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัท
                กรรมการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่ง  จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้
     ARTICLE 17: ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง  เพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ  ให้คณะ กรรมการเลือกบุคคลคนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฏหมาย เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป  เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่า  2  เดือน  บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน
                 มติของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่
     ข้อ 18. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า  3  ใน  4  ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง  และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
     ARTICLE 19: ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
                 ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร  จะเลือกกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการก็ได้  คณะกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการก็ได้
     ข้อ 20. ในการประชุมคณะกรรมการ  ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม  ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ถ้ามี รองประธานกรรมการให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน  ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้    ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
                 The decision of the meeting shall be made by a majority vote.
                 กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน  เว้นแต่กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
     ARTICLE 21: คณะกรรมการของบริษัทต้องประชุมอย่างน้อย  3  เดือนต่อครั้ง
                 ในการเรียกประชุมคณะกรรมการ  ให้ประธานกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายส่งหนังสือนัดประชุมไปยังกรรมการไม่น้อยกว่า  7  วันก่อนวันประชุม  เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท  จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้
                 คณะกรรมการบริษัทสามารถจัดประชุมได้  ณ  ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือสถานที่อื่นใดตามที่เห็นสมควร
                 กรรมการตั้งแต่  2   คนขึ้นไปอาจร้องขอให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการได้   ในกรณีที่มีกรรมการตั้งแต่ 2  คนขึ้นไปร้องขอ  ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการที่ได้รับการมอบหมายจากประธานกรรมการกำหนดวันประชุมภายใน  14  วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ
    ข้อ  22. ให้กรรมการสองคนเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันพร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท  และคณะกรรมการอาจกำหนดรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้
     ข้อ  23. คณะกรรมการอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดำเนินกิจการของบริษัทภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหรืออาจมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรและภายในเวลาที่กรรมการเห็นสมควร  และคณะกรรมการอาจยกเลิกเพิกถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขอำนาจนั้น ๆ ได้

หมวดที่  4

MEETINGS OF SHAREHOLDERS

     ARTICLE 24: The Board of Directors must cause an annual ordinary meeting of shareholders to be held within four months from the ending date of the fiscal year of the Company.
                 การประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ให้เรียกว่าการประชุมวิสามัญ คณะกรรมการจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร
                 ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้ทั้งหมด จะเข้าชื่อกันทําหนังสือขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องระบุเรื่องและเหตุผลในการที่ขอให้เรียกประชุมไว้ให้ชัดเจนในหนังสือดังกล่าวด้วย ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น
                 ในกรณีที่คณะกรรมการไม่จัดให้มีการประชุมภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคสาม ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเข้าชื่อกันหรือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ รวมกันได้จํานวนหุ้นตามที่บังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคสาม ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าเป็นการประชุมผู้ถือหุ้นที่คณะกรรมการเรียกประชุม โดยบริษัทต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอันจําเป็นที่เกิดจากการจัดให้มีการประชุมและอํานวยความสะดวกตามสมควร
                 ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหุ้นตามวรรคสี่ครั้งใด จํานวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 27. ผู้ถือหุ้นตามวรรคสี่ต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจัดให้มีการประชุมในครั้งนั้นให้แก่บริษัท
     ARTICLE 25: ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น  ให้คณะกรรมการจัดทำเป็นหนังสือนัดประชุม  ระบุสถานที่ วันเวลา  ระเบียบวาระการประชุม  และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุม  พร้อมด้วยรายละเอียดพอสมควร  โดยระบุว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ  เพื่ออนุมัติ  หรือเพื่อพิจารณา  รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังกล่าวและจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบไม่น้อยกว่า   7  วันก่อนวันประชุม  และโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ติดต่อกัน  3  วัน  ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า  3  วัน
                ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามารถจัดประชุมได้ ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือจังหวัดอื่นทั่วราชอาณาจักร
     ARTICLE 26: ในการประชุมผู้ถือหุ้น  ผู้ถือหุ้นอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงแทนตนในการประชุมก็ได้  หนังสือมอบฉันทะจะต้องลงวันที่และลายมือชื่อของผู้ถือหุ้นที่มอบฉันทะ  และจะต้องเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด
                หนังสือมอบฉันทะนี้จะต้องมอบให้แก่ประธานกรรมการหรือผู้ที่ประธานกำหนด  ณ  ที่ประชุมก่อนผู้รับมอบฉันทะเข้าประชุม
     ARTICLE 27: ในการประชุมผู้ถือหุ้น  ต้องมีผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) มาประชุมไม่น้อยกว่า  25  คน  และต้องมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า  1  ใน  3  ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด หรือมีผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด   และต้องมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด  จึงจะเป็นองค์ประชุม
                 ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด  เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึง  1  ชั่วโมง  จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ หากว่าการประชุมผู้ถือหุ้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้น ร้องขอ  การประชุมเป็นอันระงับไป  ถ้าการประชุมผู้ถือหุ้นนั้นมิใช่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ  ให้นัดประชุมใหม่  และให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า  7  วันก่อนวันประชุม  ในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
                 ในการประชุมผู้ถือหุ้นให้ประธานกรรมการนั่งเป็นประธานที่ประชุม  ถ้าไม่มีประธานกรรมการหรือประธานกรรมการมิได้มาเข้าประชุม  ถ้ามีรองประธานกรรมการให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน  ถ้ารองประธานกรรมการไม่มีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมเลือกตั้งผู้ถือหุ้นคนหนึ่งซึ่งได้เข้าร่วมประชุมเป็นประธาน
     ARTICLE 28: ในการออกเสียงลงคะแนนให้หุ้นหนึ่งหุ้นมีเสียงหนึ่งเสียง    และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นให้ประกอบด้วยคะแนนเสียงดังต่อไปนี้
                 (1) ในกรณีปกติให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและออกเสียงลงคะแนน  ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
                 (2)  ในกรณีดังต่อไปนี้  ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า  3  ใน  4  ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
                        (ก)  การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น
                        (ข)  การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นหรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัท
                        (ค)  การทำ  แก้ไข  หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ  การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจของบริษัท  หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่นโดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรขาดทุนกัน
                         (ง)  การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ
                         (จ)  การเพิ่มหรือการลดทุนของบริษัทหรือการออกหุ้นกู้
                         (ฉ)  การควบหรือเลิกบริษัท
     ARTICLE 29: Businesses that the annual general meeting should carry out are as follows:
                 (1) consider the report of the Board of Directors presented to the meeting showing the performance of the Company in the past year.
                 (2) consider and approve the balance sheet and profit and loss account of the previous fiscal year.
                 (3) consider allocating profits and allocating funds as reserves.
                 (4) เลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระและกำหนดค่าตอบแทน
                 (5) appoint an auditor and fix the remuneration.
                 (6) others

หมวดที่  5

CAPITAL INCREASE AND REDUCTION

     ARTICLE 30: The Company can increase capital from the registered amount by issuing more new shares, which can be done when:
                (1)  หุ้นทั้งหมดได้ออกจำหน่ายและได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว  หรือในกรณีที่หุ้นยังจำหน่ายไม่หมด  หุ้นที่เหลือต้องเป็นหุ้นที่ออกเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
                (2)  ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า  3  ใน  4  ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน    และ
                (3)  นำมติเพิ่มทุนนั้นไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน  14   วันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติดังกล่าว
     ARTICLE 31: หุ้นที่เพิ่มขึ้นตามข้อ  31. จะเสนอขายทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้  และจะเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจำนวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่แล้วก่อน  หรือจะเสนอขายต่อประชาชน  หรือบุคคลอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้  ทั้งนี้  ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
     ข้อ 32. บริษัทจะลดทุนจากจำนวนที่จดทะเบียนไว้แล้วได้โดยการลดมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นให้ต่ำลงหรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงก็ได้     แต่จะลดลงไปให้ต่ำกว่าจำนวน  1  ใน  4  ของทุนทั้งหมดหาได้ไม่
                เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทขาดทุนสะสมและได้มีการชดเชยผลขาดทุนสะสมตามกฏหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว  ยังมีผลขาดทุนสะสมเหลืออยู่   บริษัทอาจลดทุนให้เหลือต่ำกว่าจำนวน  1  ใน  4  ของทุนทั้งหมดก็ได้
                การลดมูลค่าหุ้นหรือจำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองเป็นจำนวนเท่าใด   และด้วยวิธีการใดจะกระทำได้ต่อเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า  3  ใน  4  ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน  ทั้งนี้  บริษัทต้องนำมตินั้นไปจดทะเบียนภายใน 14  วันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ
     ข้อ 33. เมื่อบริษัทประสงค์จะลดทุน  ต้องมีหนังสือแจ้งมติการลดทุนไปยังเจ้าหนี้ของบริษัทที่บริษัททราบภายใน  14  วันนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติ   โดยกำหนดเวลาให้ส่งคำคัดค้านภายในกำหนด   2   เดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งมตินั้นและให้โฆษณามติดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ภายในกำหนดเวลา 14   วันด้วย

หมวดที่   6

DIVIDENDS AND RESERVES

     ARTICLE 34: ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร  ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล
                 การจ่ายเงินปันผลให้กระทำภายใน  1  เดือน  นับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการ ลงมติแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ถือหุ้นและให้โฆษณาคำบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผลนั้นในหนังสือพิมพ์ด้วย มิให้คิดดอกเบี้ยแก่บริษัทหากการจ่ายเงินปันผลนั้นได้กระทำภายใต้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
     ข้อ 35. คณะกรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งคราวได้   เมื่อปรากฏแก่กรรมการว่าบริษัทมีกำไรพอสมควรที่จะกระทำเช่นนั้นได้  และเมื่อได้จ่ายเงินปันผลแล้วให้รายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป
     ARTICLE 36: เงินปันผลนั้นให้แบ่งตามจำนวนหุ้น  หุ้นละเท่า ๆ กัน  เว้นแต่จะได้มีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นสำหรับหุ้นบุริมสิทธิ     
     ARTICLE 37: บริษัทต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ  5 ของกำไรสุทธิประจำปีหักด้วยยอดเงินขาด